จากแรงบันดาลใจสู่มูลนิธิเขื่อนยันฮี
จุดเริ่มต้นของมูลนิธิฯ เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้ปฏิบัติงานจิตอาสาเขื่อนภูมิพลที่จะช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่รอบ ๆ เขื่อนภูมิพล หรือ เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ราษฎรที่อยู่รอบเขื่อนภูมิพล ส่วนหนึ่งเป็นราษฎรที่อยู่ใน ต.บ้านนา ซึ่งมีพื้นที่อยู่เหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล พื้นที่ดังกล่าวห่างไกลจากตัวเมือง การคมนาคมไม่สะดวก ขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และพบปัญหาจากการที่บุคลากรที่เริ่มทำงานมักจะขอย้ายกลับถิ่นฐานของตนเอง ทำให้บางช่วงเวลาไม่มีบุคลากรในพื้นที่
จากเหตุผลดังกล่าว มูลนิธิเขื่อนยันฮี จึงถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 มีการจดทะเบียนมูลนิธิฯ และกระทรวงการคลังประกาศให้เป็นองค์การสาธารณกุศล โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558 นายบุญส่ง พ่อค้าทอง อดีตกรรมการ กฟผ. เป็นประธานกรรมการมูลนิธิเขื่อนยันฮี
วัตถุประสงค์
- 1. ช่วยเหลือกิจการสาธารณกุศล สังคมสงเคราะห์ตามโอกาสอันควร
- 2. ส่งเสริมและสนับสนุน ช่วยเหลือ การศึกษา การกีฬาแก่นักเรียนที่ยากจน และสาธารณกุศล
- 3. พัฒนาด้านบริหาร การบริการ และวิชาการ นำไปสู่ การปฏิบัติของหมู่บ้านและชุมชน
- 4. ดำเนินการสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับ องค์การกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
- 5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
เพราะการให้ปัญญาคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงการ
โครงการ ทั้งหมด
การศึกษา
บริจาคเพื่อเป็นทุนการศึกษา 2566
กว่า 12 ปี นักเรียนในพื้นที่อ่างเก็บน้ำรอบเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ได้มีโอกาสในการศึกษาต่อจนจบระดับอุดมศึกษา และมีหลายคนที่เข้าไปเป็นบัณฑิตคืนถิ่น กลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ไปเป็นบุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ มูลนิธิยังสร้างเครือข่ายในกลุ่มพี่น้องประชาชนในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อน ให้ร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นที่พึ่งพาของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
มูลนิธิฯ สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนระดับชั้นประถม จนถึงศึกษาจบระดับอุดมศึกษาปริญญาตรีด้านครูและพยาบาล ในลักษณะของทุนการศึกษาต่อเนื่อง โดยจะให้ทุนเป็นค่าอาหาร / ที่พัก / เครื่องแต่งกาย / ค่าเทอม / ค่าใช้จ่ายประจำวัน ฯลฯ จนจบการศึกษา และกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ปัจจุบันปี 2566 มูลนิธิฯ จะขยายขอบเขตการให้ทุนการศีกษาต่อนักเรียนทุนมูลนิธิเขื่อนยันฮี สำหรับพื้นที่รอบภารกิจ กฟผ. ทั่วประเทศ
PM 2.5
สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันและดับไฟป่า พื้นที่ป่าไม้โดยรอบเขื่อนภูมิพล จ.ตาก และพื้นที่ป่าไม้ อำเภอแม่เมาะ จ.ลำปาง
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และหมอกควันจากไฟป่า ยังทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีในช่วงหน้าแล้ง หลายจังหวัดในภาคเหนือติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดในโลก คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ทีมจิตอาสาที่ช่วยป้องกันและดับไฟป่าใน 2 พื้นที่ภาคเหนือของ กฟผ. ทุ่มเทแรงกายและใจเพื่อลาดตระเวน เตรียมพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสู้กับไฟป่า จึงขอเชิญชวนบริจาคเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานของเหล่าจิตอาสา
กฟผ.
กฟผ. เข้าสู่ปีที่ 54 มุ่งสู่อนาคตไปพร้อมกัน
เนื่องในวันสถาปนา กฟผ. เข้าสู่ปีที่ 54 มุ่งสู่อนาคตไปพร้อมกัน ในฐานะหน่วยงานที่สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศและเชื่อมั่นว่า กฟผ. จะยังคงเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน เพื่อ กฟผ. และเพื่อคนไทยทุกคน โดยขอเชิญชวนบริจาคให้มูลนิธิยันฮี ที่มีวัถตุประสงค์เปิดกว้างเพื่อสาธารณะกุศลและเพื่อประโยชน์กับชุมชน สังคมในพื้นที่ความรับผิดชอบของ กฟผ. Moving for ALL towards the 54th anniversary
ไฟป่า
สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันและดับไฟป่า
ทุกต้นเดือนมกราคมถึงช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี เป็นช่วงที่มีการเกิดไฟป่ามากที่สุด จิตอาสาดับไฟป่า มีหน้าที่ดูแลสอดส่องการเกิดไฟป่าในพื้นที่กว่า 15,000 ไร่ ลาดตระเวนโดยรอบพื้นที่ ทั้งกลางวันและกลางคืน จัดกระเป๋าเตรียมพร้อมเข้าป่าตลอดเวลาหากเกิดไฟไหม้ นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่ไม่มีไฟป่าเหล่าบรรดาจิตอาสายังต้องระดมสรรพกำลังในการทำแนวป้องกันไฟป่าและสร้างฝายชะลอน้ำ ตลอดจนแผนรณรงค์ป้องกันไฟป่าอีกด้วย
การศึกษา
บริจาคเพื่อเป็นทุนการศึกษา
สำหรับด้านการศึกษา มูลนิธิฯจะให้ทุนการศึกษากับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงศึกษาจบระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรีด้านครูและพยาบาล ในลักษณะของทุนการศึกษาต่อเนื่อง โดยจะให้ทุนเป็นค่าอาหาร / ที่พัก / เครื่องแต่งกาย / ค่าเทอม / ค่าเรียนพิเศษ / ค่าใช้จ่ายประจำวัน ฯลฯ จนจบการศึกษา และกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ปัจจุบัน นักเรียนทุนมูลนิธิเขื่อนยันฮี ตั้งแต่ ปี 2552 ถึงปี 2564 มีทั้งหมด 106 คน จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้วจำนวน 50 คน
COVID-19
หมวกป้องกันเชื้อ (PAPR)
ส่งมอบลมหายใจปลอดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อป้องกันการขาดอากาศหายใจ หมดสติ อ่อนล้า เป็นลม ด้วยการจัดทำหมวกป้องกันเชื้อ (PAPR: Powered Air Purifying Respirator)
COVID-19
จัดหาชุดเตียงสนาม เพื่อมอบให้แก่โรงพยาบาลสนาม
จัดหาชุดเตียงสนามเพื่อโรงพยาบาลสนาม หรือศูนย์พักคอยที่ขาดแคลน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: 24 จัวหวัด 43 สถานที่ (จากทั้งหมด 106 สถานที่) (ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม, ศูนย์พักคอยระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน (CI) ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น)
ช่องทาง
ช่องทางการบริจาค
พลังแห่งการให้
กรุงไทย
มูลนิธิเขื่อนยันฮี
603-0-78089-1
ทหารไทยธนชาต
มูลนิธิเขื่อนยันฮี
871-2-01698-2
การลดหย่อนภาษี